Presentation
ทำสไลด์พรีเซนต์ยังไงให้เจ๋ง สื่อสารตรงจุด
เคล็ดลับจาก TED
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำ Presentation นั้นเป็นเรื่องที่เป็นหน้าเป็นตาให้แก่บริษัทมาก... และถ้าคุณทำงานออกมาดีแค่ไหน แต่ถ้าสกิลการนำเสนอไม่ดึงดูดก็สามารถทำให้สินค้าหรืองานนั้นๆ ดู Drop ลงไปได้เลยนะ ดังนั้นเราจึงชวนมาแก้และเพิ่มรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการทำสไลด์ของคุณให้ลงตัว สวยงาม และสื่อสารตรงจุด ถ้ามีครบทั้ง 3 อย่างนี้ ก็จะทำให้งานที่ต้องการจะขายยิ่งเปล่งออร่าออกมาเลยล่ะ
1. คิดก่อนว่าทำสไลด์มาเพื่ออะไร
คิดถึงแมสเสจ หรือใจความสำคัญที่ต้องการสื่อกับผู้ชม โครงสร้างของมันจะเป็นส่วนที่สนับสนุนไอเดียของคุณ ซึ่งพรีเซนเทชั่นที่ดีจะต้องสื่อสารด้วยตัวของมันเองได้
2. ทั้งสไลด์จะต้องดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
หมายถึงการตกแต่งสไลด์ที่เป็นรายละเอียดต่างๆ เช่น ฟ้อนท์ตัวอักษรคล้ายๆ กัน สี และรูปภาพในแต่แผ่น
3. คิดถึงการเปลี่ยนสไลด์ในแต่ละหน้าด้วย
มันดีที่แต่ละสไลด์จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่คงไม่ดีแน่ถ้าแต่ละสไลด์นั้นเหมือนกันจนเกินไป ซ้ำซากจนเกิดความน่าเบื่อ เราสามารถทำสไลด์ที่อยู่ในหัวข้อเดียวกันให้มีความคล้ายกัน แล้วพอจะเปลี่ยนหัวข้อก็เปลี่ยน Transition เข้าสู่อีกแบบหนึ่ง เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ถึงความต่างด้วย ว่าเรากำลังเปลี่ยนหัวข้อแล้ว เป็นการใช้ภาพเคลื่อนไหวช่วยทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกที่ต่างออกไป
4. ตัวหนังสือที่ต้องระวัง
สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดคือ สไลด์ที่มีตัวหนังสือเต็มไปหมด! โดยเฉพาะเวลาที่คุณพรีเซนท์แล้วพูดเหมือนกับในสไลด์นั้น อาจทำให้เหมือนกับเรานำโพยกระดาษไปพูดหน้าชั้นเรียนซึ่งไม่ดีแน่ เพราะผู้ชมไม่อาจฟังไปพร้อมๆ กับอ่านในสไลด์ของคุณได้ ดังนั้นควรโฟกัสที่ใจความสำคัญ... อยู่ที่คำพูดของคุณหรือในสไลด์ ควรเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
5. ใช้รูปภาพสื่อความหมาย
รูปภาพง่ายๆ และสื่อความหมายตรงประเด็นนั้นดีที่สุดแล้ว เพราะมันสามารถช่วยให้ผู้ชมเข้าใจคำพูดที่คุณอธิบายออกมาได้เห็นภาพมากขึ้นโดยที่ไม่แย่งความสนใจไปจากคำพูดของคุณอีกด้วย คุณอาจใช้รูปภาพที่สื่อความหมายโดยนัยก็ได้ แต่ก็ต้องชัดเจนพอที่จะให้ผู้ชมเข้าใจได้ว่าทำไมเขาถึงต้องนั่งมองรูปนี้ (ไปพร้อมๆกับสิ่งที่คุณพูด)
บางคนอาจทำได้ดีอยู่แล้ว สิ่งที่อยากจะเพิ่มก็คือ "การฝึกซ้อม" เพราะการพูดสด อารมณ์ และท่าทางในการพูดก็สำคัญไม่แพ้กัน
การเตรียมตัว + วางแผน
=
อาวุธชิ้นสำคัญในการขายงาน/ไอเดีย
..............................................................
Cr: http://blog.ted.com/